มันเป็นประโยคบอกเล่า (เนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ทศวรรษ ม.อ.ปัตตานี)



บทความนี้เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์สำคัญคือ (1)ต่อจากประเด็นบางส่วนที่มี “เด็กผู้ชาย”คนหนึ่ง ได้กล่าว “ประโยคบอกเล่า”อันสำคัญ ทั้งแก่ “บรรดาผู้นำกิจกรรม”และ “ผู้บริหารที่เคารพยิ่ง” ในโครงการผู้บริหารพบปะนักกิจกรรม เมื่อค่ำวันจันทร์ ที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2560 ณ หอประชุมชูเกียรติ ปิติเจริญกิจ สำนักอธิการบดี ม.อ.ปัตตานี ที่ผ่านมา (2)อีกทั้งเพื่อยืนยันถึงสิ่งที่เขาได้พูดไปแล้วอีกครั้ง (3)เพื่อให้บรรดานักศึกษาลูกพระบิดาศรีตานีรุ่นปัจจุบัน รวมทั้งรุ่นต่อๆไปได้ตระหนักถึงความเป็นไปของมหาวิทยาลัยระหว่างปัจจุบันและอนาคตให้มากยิ่งขึ้น และ(4)เนื่องในกาสครบรอบ 50 ปี ม.อ.ปัตตานี

เป็นเวลากว่า 5 ทศวรรษ ที่มหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ได้อยู่คู่สังคมไทยมานาน มหาลัยแห่งนี้ถือว่าเป็นความทรงจำที่ดีและได้ให้ประสบการณ์อันทรงคุณค่าแก่นักศึกษารุ่นต่อรุ่น สร้างปัญญาชน บ่มเพาะคนให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและขับเคลื่อนชาติมายาวนานพอสมควร ไม่แพ้มหาวิทยาลัยในระดับส่วนกลางหรอระดับภูมิภาคที่อื่นๆเลย ด้วยกับความตั้งใจที่จะให้ “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์” ได้เป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดแก่สังคม ว่าหากเราละเลยหรือละทิ้งความต้องการของผู้อื่นที่ทุกข์ร้อนแล้วไซร้ สังคมก็มิอาจสูงส่งได้และมีแต่จะตกต่ำ

แต่ไม่ว่าคุณค่าทางสังคมจะอยู่ได้ด้วยกับชุดวิธีคิดแบบไหน ความสำคัญของการดำรงอยู่ระหว่างตัวตนที่เคลื่อนไหวในโลกที่เปลี่ยนแปลงนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญ ภาพใหญ่ของสังคมจึงไม่ได้วัดจากภูมิศาสตร์ทางสังคมที่จำกัดคับแคบอยู่แค่พื้นที่หนึ่ง แต่มันหมายถึงการมองทั้งในระดับชาติ ตลอดจนระดับโลก หากสังคมหนึ่งหยุดนิ่งเพียงเอาแต่เชิดชูชุดคุณค่า แล้วบอกว่าสังคมเราก็เป็นเช่นนี้ เราก็เป็นเช่นนี้ จะไปตามผู้อื่นทำไม สังคมนั้นก็ไม่เหมาะสมที่จะนำใครออกสู่โลกภายนอกที่กว้างกว่าเขตรั้วเท่าที่สายตามันวัดได้ อันที่จริงชุดคุณค่าไม่ว่าจะสอนให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง หรือสอนให้รักประชาชน ไม่ได้ตัดสินว่าความคิดหรือประสบการณ์ถูกทำให้คับแคบด้วยชุดคุณค่า ชุดคุณค่ามันมีความดีงามตามที่ผู้กล่าวได้ประสงค์ให้เห็นถึงความชัดเจนนั้นแล้ว เพียงแต่ชุดคุณค่านั้ มันถูกทำให้มองผ่านภูมิศาสตร์ทางความคิดที่คับแคบและกลายเป็นแค่ความเข้าใจผิดๆของคนบางคน เช่นเดียวกับความเข้าใจผิดๆทางภาษาที่ไปเข้าใจว่ามันคือ “ประโยคคำถาม”ทั้งที่จริงๆมันคือ “ประโยคบอกเล่า”

สิ่งที่ “เด็กชาย”ผู้นั้นได้กล่าว เมื่อค่ำคืนหนึ่ง ณ มหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ ภายในเรือนร่างของอาคารอันแสดงถึงความเก่าแก่ของมหาวิทยาลัย ที่หอประชุมได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้มีภาพของความทันสมัย รวมถึงชื่อของหอประชุมที่บ่งบอกถึงความสำคัญบางอย่าง เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนให้ความสนใจ ด้วยกับสิ่งที่เขาพูด ในสถานการณ์ที่เปลี่ยน ในห้องที่ปรับปรุงแล้ว แต่ตัวอาคารยังคงรูปไว้นับตั้งแต่ที่มันถูกสร้างขึ้น รวมถึงบรรยากาศภายในมหาวิทยาลัยที่ดูแปลกตาไปจากหลายทศวรรษที่แล้ว ผู้คนที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่ผลัดเปลี่ยนเช่นดอกสีตรังที่ผลัดดอกผลัดใบอยู่เป็นช่วงฤดู รวมถึงภาษีทางการศึกษาของนักศึกษาผู้เข้าใช้บริการมหาวิทยาลัยแห่งนั้นที่เพิ่มขึ้นไปจากเดิม เขาพูดอะไร และมันสำคัญแค่ไหนกับความเป็นไปที่เปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ที่เขตรั้วทางการศึกษานี้เอง ควรจะมองใหม่ โดยเฉพาะนักศึกษารุ่นต่อๆไป และด้วยความสำคัญนี้ เขาจึงรีบออกจากตึกคณะรัฐศาสตร์ซึ่งเป็นคณะที่เขาสังกัด ภายหลังจากที่เขาเว้นว่างจากการปรึกษาเรื่องวิจัยกับอาจารย์ของเขา ก่อนที่เขาจะกลับมาเพื่อธุระกับอาจารย์ของเขาอีกครั้ง เขาหวังว่าการที่เขาแวบไปเพียงชั่วครู่เพียงเพื่อพูดในสิ่งที่เขาคิดแล้วว่าควรจะพูดก่อนที่เขาจะกลับไปทำธุระต่อให้เสร็จสิ้นนั้น จะทำให้ผู้บริหารรับฟังและนำไปคิดต่อ ทำต่อ และเขาก็หวังว่าบรรดาผู้นำกิจกรรมทั้งหลายที่ได้สิ่งที่เขาได้พูด ได้ฉุกคิดและทำความฝันของเด็กชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาเองก็ไม่ได้คิดว่าความฝันนั้นเป็นแค่ของเขา แต่มันคือความฝันของคนรุ่นต่อๆไปที่จะให้บรรดาผู้นำกิจกรรม ผู้มีทั้งโอกาสและประสบการณ์ได้ร่วมกันตอบโจทย์ความฝันในประโยคบอกเล่าที่แสนธรรมดานั้นต่อไป

ประเด็นสำคัญที่ “เด็กชาย”ผู้นั้นได้พูด ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นหอพักนักศึกษาโดยเฉพาะหอพักชายที่ควรขยับขยายให้มีการเปิดเพิ่ม ประเด็นของการให้มีบริการยืมคืนจักรยานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อขยายโอกาสให้แก่นักศึกษาทั่วไปได้ใช้อย่างถ้วนถึง และประเด็นส่งเสริมให้มีรถบริการขนส่ง NGV ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งจากสิ่งที่เขากล่าวมาทั้งหมดนั้นล้าวนเป็น “ประโยคบอกเล่า”ทั้งสิ้น เพราะเขาหวังเพียงว่าภายในไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า มหาวิทยาลัยจะมีสิ่งเหล่านี้ หากเป็นผู้ที่ศึกษาทางด้านภาษามาจะเข้าใจประเด็นและลักษณะประโยคที่เขาพูดมาอย่างแน่นอน แม้พิธีกรจะพยายามได้ข้อมูลในลักษณะการถาม แต่ “เด็กชาย”ผู้นั้นก็แสดงตนตั้งแต่เริ่มพูดด้วยการบอกกล่าวที่ไม่ได้ต้องการพูดในส่วนที่เป็นการถามตั้งแต่แรก หากแต่เป็นข้อเสนอแนะแก่ทางผู้บริหาร เนื่องในโอกาสที่ท่านได้ให้เกียรติมาพบบรรดานักกิจกรรม(แม้เด็กชายผู้นั้นอาจเป็นแค่นักศึกษาคนหนึ่งก็ตาม ซึ่งในส่วนนี้เขาอาจผิดประเด็นในลักษณะที่มาผิดงานตั้งแต่แรกก็เป็นได้)

ประเด็นแรก เรื่องหอพักซึ่งเด็กชายผู้นั้นได้โฟกัสไปที่หอพักชายเป็นหลัก เขาบอกเล่าโดยการให้เหตุผลในฐานะที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นเป็น Safety Zone ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เขาเห็นว่าบุคลากรของมหาลัยแห่งนั้นมีสัดส่วนที่พักมากกว่านักศึกษา ในขณะที่นักศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหอพักชายมีแค่หอพักเดียว นั่นคือหอพักเก้า นั้นหมายความว่า ความปลอดภัยของบุคลากรมีสูงกว่านักศึกษาในขณะที่นักศึกษาเองก็มีแนวโน้มว่าจำนวนจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย แต่มหาวิทยาลัยกลับรองรับความปลอดภัยผ่านสวัสดิการเรื่องที่อยู่ที่พัก ด้วยการเปิดให้บริการแก่นักศึกษาชายแค่หอพักเก้าเท่านั้น เด็กชายผู้นั้นจึงเสนอไปว่าควรให้มีการเปิดเพิ่ม จะเปิดแค่สองหอ หรือสี่หอ ก็ตามแต่ แต่นักศึกษาควรได้รับการคุ้มครองในด้านชีวิตและทรัพย์สินในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยนี้เช่นเดียวกับบุคลากรมิใช่หรือ? และความรุนแรงในพื้นที่หากเกิดขึ้นแก่นักศึกษาในหาวิทยาลัยเอง ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง มันก็ย่อมส่งผลต่อความเชื่อมั่นแก่บุคคลภายนอกที่จะเข้ามาศึกษารวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองที่ส่งเสียบุตรหลานมาศึกษาเล่าเรียนอยู่แล้วด้วยมิใช่หรือ?

ประเด็นที่สอง การให้มีบริการยืมคืนจักรยานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อขยายโอกาสให้แก่นักศึกษาทั่วไปได้ใช้อย่างถ้วนถึง เด็กชายผู้นั้นมองว่า มหาวิทยาลัยได้นำร่องด้วยการริเริ่มให้มีการใช้จักรยานนั้นถือเป็นเรื่องที่ดี แต่มันจะดีกว่านี้หากมีการขยับขยายไปสู่นักศึกษาโดยทั้งหมดได้ ผ่านบริการยืม-คืนจักรยาน ซึ่งบริการตัวนี้จะช่วยลอดการใช้มอเตอร์ไซค์หรือรถส่วนตัวของนักศึกษาแต่คน ซึ่งจะส่งผลให้การจราจรโดยเฉพาะสาย ม. ลดความหนาแน่นติดขัดทางจราจรลงได้ และผู้เขียนเองก็มองว่า นอกจากจะช่วยแก้ปัญหา Traffic Jam ภายนอกมหาวิทยาลัยได้แล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องที่จอดรถไม่เพียงพอในระยะยาวได้ด้วย และการที่เด็กชายผู้นั้นคิดเช่นนี้ เขาเองก็ให้เหตุผลว่า นอกจากมหาลัยจะสร้างประโยชน์ทั้งต่อตัวมหาลัยเองและนักศึกษาแล้ว การไม่สร้างภาระแก่ชุมชนก็ย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง

ประเด็นที่สาม การส่งเสริมให้มีการใช้รถบริการสาธารณะ NGV ภายในมหาวิทยาลัย อันเนื่องด้วยกับสาเหตุที่มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องจากกรณ๊การส่งเสริมให้มีการใช้จักรยานผ่านการสนับสนุนนโยบายยืม-คืน จักรยานภายในมหาวิทยาลัยเอง อันจะส่งผลให้ลดภาระอันมีที่มาจากการใช้รถส่วนตัวของนักศึกษาเอง อีกทั้งมหาวิยาลัยก็กว้างยิ่งขึ้น การมีรถบริการภายในไว้สักคันสองคัน ก็คงไม่เหนือบ่ากว่าแรงจากภาษีรายหัวจากนักศึกษาแต่ละคนที่อาจสูงกว่าค่าเทอมในหลายๆคณะของมหาวิทยาลัยส่วนกลางเอง
จากสิ่งที่ “เด็กชาย”ผู้นั้นได้กล่าวมา จึงบ่งบอกให้เห็นถึงนัยยะสำคัญบางประการ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นไปในตัวตนที่เชิดชูของสังคมหนึ่งกับสังคมอื่นในลักษณะเดียวกันที่อาจไปไกลกว่าสิ่งที่เด็กชายผู้นั้นได้พูด และประโยคบอกเล่าที่เขาได้เล่านั้น ก็ไม่ได้แสดงถึงความสดใหม่อะไรสำหรับโลกเพราะโลกไปไกลกว่านั้น ในขณะที่สังคมในลักษณะในคล้ายๆกันในระดับชาติ ไปไกลเกินกว่าที่จะกล่าวว่า ประโยคบอกเล่านั้น มันใหม่เอี่ยมในทางความคิด ถึงกระนั้นในประโยคบอกเล่านั้น ไม่มีความหวังร้ายอันใด นอกไปจากความหวังดีที่มีต่อมหาวิทยาลัย ท่ามกลางสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

ในสังคมแห่งความเร็ว แม้ความใหม่จะเป็นสิ่งที่ถูกถามหาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่มันก็เก่าไวมาก เราจึงไม่สามารถบอกได้เลยว่าสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำ ที่เราบอกว่ามันสร้างสรรค์แล้ว สำหรับโลกในวันพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ เขาอาจไม่ได้ต้องการความคิดเช่นนี้แล้วก็เป็นไปได้ เฉกเช่นบทบาทของสังคมอุตสาหกรรมที่เริ่มมีความต้องการทรัพยากรมนุษย์น้อยลง เครื่องจักรมีแน้วโน้มมาแทนที่สูง ความเป็นไปได้แบบเก่าๆงมีโอกาสถูกหักล้างได้ทุกเสี้ยววินาที สำหรับสังคมอีกหลายๆสังคม หรืออาจมีเพียงบางสังคมที่ยังคงย่ำเท้าอยู่กับที่หรือเป็นคนพอตัวที่ยอมก้าวเดินด้วยระยะเท้าที่สั้น ก็คงจะช้าเกินไปสำหรับโลกที่ไปไว จะอย่างไรก็ตาม โลกแห่งความไวอาจไม่ใช่อุปสรรคโดยองค์รวมแก่โลกทั้งหมด เราเองยังคงมีเวลาเพียงพอ อาจแต่ไม่มากพอ หากไม่เร่งให้ทันมาตรฐานตามที่สังคมอื่นเขาเป็นกัน สิ่งที่ออกมาจากประโยคบอกเล่า นกจากข้อเสนอแนะแล้ว หน้าที่ของมันอีกอย่างคือการบอกให้รู้ว่าสังคมในลักษณะเดียวกันที่เขา claim กันว่าเป็นถึงระดับชาตินี้นั้น เขาก็ไปไกลเกินกว่าการนั่งแยกขยะแล้ว

ไม่ว่าประโยคบอกเล่านี้จะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นประโยคคำถาม และกลับกลายเป็นเรื่องตลกสำหรับใครก็ตาม มันก็ไม่ได้มีความจำเป็นอะไรที่ผู้เข้าใจผิดต่อประโยคบอกเล่าอันแสนยาวเหยียดว่าเป็นคำถามนั้น จะต้องตอบแก่ “เด็กชาย”ผู้บอกเล่า หากแต่ประโยคบอกเล่าที่ถูกแปรให้กลายคำถามนั้นเอง ผู้ที่ควรแก่การได้รับคำตอบคือนักศึกษารุ่นต่อๆไป และผู้นำกิจกรรมทั้งหลายก็ควรจะช่วยตอบคำถามนั้นให้เป็นจริงแก่คนรุ่นต่อๆไป มากกว่าการได้หัวเราะแก่อนาคตที่แม้แต่ในปัจจุบันเองพวกเขารวมถึงเพื่อนนักศึกษาด้วยกันโดนกดทับไว้โดยที่เขาเอง(ซึ่งอาจทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเสริมการกดทับนั้นอีกที)ก็ไม่รู้ตัวแม้ว่าเขาจะบอกตัวเองว่าเป็นผู้นำนักกิจกกรมหรือเป็นปัญญาชนก็ตาม

“ขอแสดงความหัวเราะแก่ 5 ทศวรรษที่ผ่านมาครับ” คำพูดของ “เด็กชาย”ที่ไม่ได้กล่าวในวันงาน เนื่องในโอกาส ครบรอบ 50 ปี


ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม

Contact

ชื่อ

อีเมล *

ข้อความ *